นิกิต้า เซเกรเยวิช ครุสชอฟ (รัสเซีย: ?????? ????????? ??????; อังกฤษ: Nikita Sergeyevich Khrushchev 17 เมษายน ค.ศ. 1894 - 11 กันยายน ค.ศ. 1971) เป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต สืบทอดตำแหน่งต่อจากโจเซฟ สตาลิน ซึ่งได้ถึงแก่อสัญกรรมในปี 1953 ประธานสภารัฐมนตรีแห่งสหภาพโซเวียต สืบทอดตำแหน่งต่อจากนิโคไล บัลกานิน
นิกิต้า เซเกรเยวิช ครุสชอฟ เกิดเมื่อ 15 เมษายน ค.ศ. 1894 ในครอบครัวของแรงงานขุดเหมืองแร่ ในหมู่บ้าน คาลินอฟกา ในยุคจักรวรรดิรัสเซียใกล้กับพรมแดนยูเครนปัจจุบัน พ่อของเขาชื่อ เซอร์เกย์ ครุสชอฟ นิโกโนโรวิช และแม่ชื่อ เคสิเนีย อิวาโนว่ า ครุสชอฟได้เรียนหนังสือแค่สี่ปี และต้องทำงานตั้งแต่อายุ 12 ปี เริ่มจากการทำงานเป็นคนเก็บผลไม้
ค.ศ. 1908 ตอนอายุได้ 14 ปี ครอบครัวย้ายไปทำเหมืองใกล้ๆ กับเมืองยุซอฟก้า (Yuzovka) มันเป็นเมืองอุตสาหกรรมที่เจริญแห่งหนึ่งของประเทศ ครุเซฟทำงานหลายแห่ง กอ่นที่จะได้ทำงานในโรงงานเหล็ก แต่ไม่นานก็ถูกไล่ออก และได้งานใหม่ที่เหมืองถ่านหินใกล้กับเมืองรุตเชนโกโว่
ค.ศ. 1914 ตอนเกิดสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเขาได้รับการยกเว้นไม่ต้องโดนเกณฑ์ทหาร เนื่องจากเป็นแรงงานที่เชี่ยวชาญเรื่องเหล็ก ทำให้มีโรงงานจ้างเขาเอาไว้ ซึ่งโรงงานดังกล่าวต้องทำงานส่งให้เหมืองหลายสิบแห่ง
ค.ศ. 1918 เข้าเป็นสมาชิกของพรรคบอลเชวิค แต่ก็ยังคงทำงานในเหมืองถ่านหินต่อไป และก็เข้าเรียนหนังสือที่นิคมอุตสาหกรรมโดเนตส์ เขาทำงานให้กับพรรคในพื้นที่ของเมืองเคียฟและดอนบาส์ส
ค.ศ. 1920 ครุสชอฟรู้จักกับหัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์ในยูเครนคือ กาจาโนวิช นิสัยของครุสชอฟสร้าวความประทับใจให้กับกาจาโนวิชมาก ต่อมาเขาจึงเป็นผู้สนับสนุนให้ครุสชอฟมาเรียนหนังสือต่อในมอสโคว ครุสชอฟอยู่ในกองทัพแดงในแถบเมืองรุตเชนโกโว่ จนได้รับเลือกเป็นคณะกรรมการฝ่ายการเมืองของหน่วย 1974 ไรเฟิลที่ 9
ค.ศ. 1931 ครุสชอฟได้เข้าเป็นสมาชิกและทำงานกับพรรคคอมมิวนิสต์ในมอสโคว จนกระทั่งปี 1938 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์อันดับที่หนึ่ง ประจำยูเครน
ค.ศ. 1943 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เขามีบทบาทอย่างมากในฐานะนายทหารระดับสูง จนเมื่อสงครามโลกยุติ ก็มีบทบาทสำคัญในรัฐบาลยูเครน จนธันวาคม 1949 ก็ได้ย้ายจากยูเครนกลับมายังมอสโคว
ปี ค.ศ. 1953 หลังการถึงแก่อสัญกรรมของสตาลินในวันที่ 5 พฤษภาคม 1953 ลาเวรนติ เบเรีย (Lavrenti Beria) หัวหน้าหน่วยตำรวจลับของสตาลิน ได้ขึ้นป็นรองประธานสภารัฐมนตรีดำดับที่หนึ่ง และรัฐมนตรีกิจการภายในในทันที ถือเป็นบุคคลที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโซเวียต หลังจากนั้นหนึ่งวัน พันธมิตรของครุสซอฟ กอร์กี มาเลนคอฟ ได้กลายเป็นประธานสภารัฐมนตรีหุ่นเชิด และเบเรียครองอำนาจทุกอย่าง เบเรียมีนโยบายที่จะออกจากเยอรมันตะวันออกและหันไปญาติดีกับสหรัฐ ทำให้คณะกรรมการพรรคหลายคนไม่พอใจ และไม่ไว้ใจในตัวเบเรีย โดยเฉพาะครุสชอฟ เป็นคนที่ต่อต้านเบเรียอย่างเปิดเผย แต่ว่าไม่สามารถทำอะไรเบเรียได้ จนกระทั่งเมื่อเกิดการลุกฮือของประชาชนในเยอรมันตะวันออกในเดือนมิถุนายน สมาชิกพรรคหลายคนกังวลว่านั้นเป็นนโยบายที่ผิดพลาดและจะทำลายโซเวียต นั้นทำให้มาเลนคอฟหันไปช่วยเหลือครุสชอฟ ครุสชอฟทำการรัฐประหารยึดอำนาจจากเบเรียทำให้เบเรียถูกจับตัวได้วันที่ 26 มิถุนายน 1953หลังจากนั้น ในเดือนกันยายน 1953 ครุสซอฟจึงได้รับแต่งตั้ง ให้เป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งโซเวียต และในปี 1958 ก็ได้ควบตำแหน่งประธานสภารัฐมนตรี
ต่อมาครุฟชอฟก็ได้ทำให้โลกต้องตกตะลึงด้วยการผ่อนคลายความเข้มงวดในระบบสตาลินลง พร้อมทั้งประณามขุดคุ้ยความโหดร้ายของสตาลิน ผู้ซึ่งเป็นเจ้านายคนเก่าของเขา จนในที่สุดทุกๆ ที่ที่มีรูปปั้นสตาลินจะถูกทุบทิ้งจนหมด เพลงชาติที่มีชื่อสตาลินก็ถูกลบออก ศพของสตาลินก็ย้ายจากข้าง ๆวลาดิมีร์ เลนิน ไปฝังอยู่ในกำแพงวังเครมลิน แต่ว่าการประณามสตาลินในครั้งนั้นทำให้ประธานเหมา เจ๋อตุงผู้นำของประเทศจีนเกิดไม่พอใจเป็นอย่างมาก เพราะเขาได้ยึดถือลัทธิการเชิดชูวีรบุรุษก็คือประธานเหมาได้เอาสตาลินมาเทียบเท่ากับตน ทำให้การประณามของครุฟชอฟนั้นมากระทบถึงประธานเหมาทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหภาพโซเวียตตกต่ำลงจนทำให้เกิดความขัดแย้งกันของทั้งสองประเทศในเวลาต่อมา จนกระทั่งทำให้เกิดการแบ่งแยกอุดมการณ์ของลัทธิคอมมิวนิสต์ขึ้นออกมาสองแบบคือ อุดมการณ์ลัทธิคอมมิวนิสต์แบบผสมรวมกับระบบทุนนิยมของรัสเซียและอุดมการณ์ลัทธิคอมมิวนิสต์แบบดั้งเดิม(คือรักษาระบบนารวมเอาไว้)ของจีน การแตกแยกครั้งนี้ส่งผลให้ แอลบาเนีย กัมพูชา และโซมาเลีย เลือกที่จะเป็นพันธมิตรกับจีนแทนโซเวียต
แม้ครุสชอฟจะดำเนินนโยบายเน้นสันติภาพ และพยายามผ่อนคลายสงครามเย็น แต่เขาก็ดำเนินนโยบายทางการเมืองผิดพลาดหลายครั้ง อาทิ วิกฤตการณ์ขีปนาวุธคิวบา ในปี ค.ศ. 1962 ได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศโซเวียตกับสหรัฐอเมริกาตึงเครียดขึ้นอีกครั้ง นอกจากนี้เขายังส่งทหารเข้าไปยังโปแลนด์และฮังการีเพื่อสนับสนุนการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ ในที่สุดเขาก็ถูกยึดอำนาจโดยคณะกรรมาธิการเพื่อความมั่นคงแห่งรัฐ (Committee for State Security หรือ KGB) นำโดย เลโอนิด เบรจเนฟ และ กอสซิกิน ในปี ค.ศ. 1964 หลังจากนั้นครุชอฟได้ใช้ชีวิตอยู่อย่างสงบสุขในกรุงมอสโกด้วยเงินบำนาญและเสียชีวิตในวันที่ 11 กันยายน ค.ศ.1971 รวมอายุได้ทั้งหมด 77 ปี
วลาดิมีร์ เลนิน ? โจเซฟ สตาลิน ? นิกิตา ครุสชอฟ ? เลโอนิด เบรจเนฟ ? ยูริ อันโดรปอฟ ? คอนสตันติน เชียร์เนนโค ? มีฮาอิล กอร์บาชอฟ